วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563


ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสํญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม(ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเองและต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมากแต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม มหาคม จำกัด ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ


18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรจากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ สเปซ แอร์คราฟท์ (Hughes Space Aircraft) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม รองรับการสื่อสารของประเทศที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว สามารถถ่ายทอดทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และการสื่อสารข้อมูล มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
ทั้งนี้ ชื่อ "ไทยคม" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานโดยย่อมาจากคำว่าThai Communications ในภาษาอังกฤษ หรือไทยคม (นาคม) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"







 ดาวเทียมไทยคมถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ก่อนย้ายตำแหน่งวงโคจรจาก 78.5 องศาตะวันออก ไปที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ดาวเทียมไทยคม1A สำหรับดาวเทียมไทยคม เริ่มเปิดใช้งานเมื่อเดือนมกราคม 2537 ส่วนดาวเทียมไทยคม 1A เริ่มเปิดใช้งานเมื่อเดือนมิถุนายน 2540 
ดาวเทียมไทยคม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ ตุลาคม 2537 เริ่มให้บริการในเดือนธันวาคม 2537 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก 
สำหรับดาวเทียมไทยคม 1 และดาวเทียมไทยคม 2 เป็นดาวเทียมรุ่นแรกของโครงการดาวเทียมไทยคม มีอายุการใช้งาน 15 ปี โดยเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1 และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) ณ ประเทศไทย 36 เดซิเบลวัตต์ ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1 และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) 50 เดซิเบลวัตต์ 

        ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม ปัจจุบันดาวเทียมไทยคมเลิกใช้งานแล้ว เพราะประสบปัญหาระบบพลังงานขัดข้องบางส่วน ส่งผลให้ไทยคม 3 ให้บริการได้ไม่เต็มที่ บริษัทจึงย้ายลูกค้าในส่วน Transponder ที่ขัดข้องไปยังไทยคม 1A-2 

ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ดาวเทียมไอพีสตาร์ (IPStar-1 หรือ Thaicom-4) เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในปัจจุบันมีช่องการสื่อสารแบบ KU-Band จำนวน 87 ช่อง และ KA-Band จำนวน 10 ช่อง น้ำหนัก 6,505 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ด้วยจรวดแอเรียน 5 จากดินแดนเฟรนช์เกียนาในทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่บริการของดาวเทียมครอบคลุมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด สามารถให้บริการแก่ประชากรในพื้นที่ดังกล่าวกว่า 2 พันล้านคน ดาวเทียมไทยคม 4 –ไอพีสตาร์ นี้เป็นดาวเทียมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยฝีมือคนไทย และได้จดสิทธิบัตรเป็นเทคโนโลยีของคนไทยด้วย และ ดาวเทียมไทยคม เป็นดาวเทียมสื่อสาร ยิงสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 27 พ.ค.49 ดาวเทียมไทยคม มียูบีซีเป็นลูกค้ารายใหญ่ ในฐานะพันธมิตรด้านกลยุทธ์ที่ย้ายการใช้งานจากดาวเทียมไทยคม มีระยะเวลาสัญญา 13 ปี โดยได้รับการจัดสรรช่องสัญญาณดาวเทียมเพิ่มขึ้นอีก 88 % เป็น 36 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน ทรานสพอนเดอร์ และ 54 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน ทรานสพอนเดอร์ จากเดิมไทยคม ได้รับจัดสรรช่องสัญญาณ 36 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 4.25 ทรานสพอนเดอร์ หรือ 50 % ของเคยู แบนด์ในไทยคม 

  ทั้งนี้ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (SATTEL) เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 เพื่อให้บริการสื่อสารดาวเทียมและบริการที่เกี่ยวเนื่องตามสิทธิที่ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติจากกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที) เป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดสัญญาในปี 2564 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) 





ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม
          ดาวเทียมไทยคมมีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษและเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน 
Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้
          ด้านโทรทัศน์


          สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่
          ด้านวิทยุกระจายเสียง


          สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ
          ด้านโทรศัพท์



          สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ

เว็บไซต์อ้างอิง : http://www.thaicom.net.th
                      http://ti.wikipedia.org/
                      http://www.cartrack.co.th 
                      http://woranuch1234.weebly.com